Flowchart

ผังงาน ( Flowchart)

ผังงาน (flowchart) คือ แผนภาพซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนของการทำงาน โดยแต่ละขั้นตอนจะถูกแสดงโดยใช้สัญลักษณ์ซึ่งมีความหมายบ่งบอกว่า ขั้นตอนนั้น ๆ มีลักษณะการทำงาน ทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ ว่าในการทำงานนั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง และมีลำดับอย่างไร

flow01

ประโยชน์ของผังงาน

1. ช่วยให้สามารถทำความเข้าใจลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบใด ๆได้อย่างรวดเร็ว
2. ช่วยแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างเป็นระบบไม่สับสน
3. 
ผังงานที่ดีควรเป็นอิสระต่อภาษาที่ใช้ในการ เขียนโปรแกรม กล่าวคือจากผังงานเดียวกันสามารถนำไปเขียนโปรแกรมด้วย
ภาษาใดก็ได้

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน (FLOWCHATING SYMBOLS)

การเขียนผังงาน เป็นการเขียนแผนภาพเพื่อแสดงขั้นตอนการทำงาน โดยนำภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ มาเรียนต่อกัน สัญลักษณ์ที่นิยมใช้ในการเขียนผังงานนั้นหน่วยงานที่ชื่อว่า American National Standards Institute (ANSI) และ International Standard Organization (ISO) ได้ร่วมกันกำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานเพื่อใช้ในการเขียนผังงานดังนี้

flow_symbol

flow_symbol02

flow_symbol06

flow_symbol05

หลักเกณฑ์ในการเขียนผังงาน

  1. สัญลักษณ์ที่ใช้อาจมีขนาดต่างๆ กันได้ แต่จะต้องมีรูปร่างเป็นสัดส่วนตามมาตรฐาน
  2. ทิศทางของลูกศรในผังงาน ควรมีทิศทางจากบนลงล่าง หรืออาจจากซ้ายไปขวาเสมอ
  3. ผังงานควรมีความเรียบร้อย สะอาด พยายามหลีกเลี่ยงการเขียนลูกศรที่ทำให้เกิดจุดตัด เพราะจะทำให้ผังงานอ่านและทำความเข้าใจได้ยาก และถ้าในผังงานมีการเขียนข้อความอธิบายใด ๆ ควรทำให้สั้นกะทัดรัดและได้ใจความ

ลักษณะโครงสร้างของผังงาน

ผังงานทั่วไปจะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐาน 3 รูปแบบต่อไปนี้คือ

1.โครงสร้างแบบเป็นลำดับ (sequence structure)
2.โครงสร้างแบบมีการเลือก (selection structure)
3.โครงสร้างแบบทำซ้ำ (iteration structure)

โครงสร้างแบบเป็นลำดับ (Sequence Structure)

sequence_flow

ภาพจำลองผังงานแบบที่ 1 ผังลำดับ ( Sequence Structure)

โครงสร้างลักษณะนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของผังงาน และเป็นลักษณะขั้นตอนการทำงานที่พบมากที่สุด คือทำงานทีละขั้นตอนตามลำดับ

ตัวอย่าง

sequence_flow_example

จากตัวอย่างผังงานการคำนวณดอกเบี้ย สามารถอธิบายเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

  1. เริ่มต้นการทำงาน
  2. รับค่าเงินต้น และอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคำนวณหาดอกเบี้ย
  3. คำนวณหาดอกเบี้ยโดยใช้สมการต่อไปนี้  ดอกเบี้ย = เงินต้น * อัตราดอกเบี้ย
  4. แสดงค่าของดอกเบี้ยซึ่งคำนวณได้
  5. จบการทำงาน

โครงสร้างแบบมีตัวเลือก (Selection Structure)

selection_flow

โครงสร้างการทำงานแบบมีการเลือกมีรูปแบบที่ซับซ้อนกว่าโครงสร้างแบบเป็นลำดับรูปแบบที่ง่ายที่สุดของโครงสร้างแบบนี้คือ การเลือกแบบมีทางออก 2 ทาง ในการเลือกแบบมีทางออก 2 ทาง นี้จะมีทางออกจากสัญลักษณ์การตัดสินใจเพียง 2 ทาง คือ ใช่หรือไม่ใช่ เท่านั้น (แต่ระบบการเขียนผังงานระบบ อนุญาตให้มีทางออกจากการตัดสินใจได้มากกว่า 2 ทาง)

ตัวอย่าง ผังงานแบบมี 2 ทางเลือก

selection_flow_example

ตัวอย่างผังงานที่มีโครงสร้างแบบมีการเลือก

ผังงานการคำนวณดอกเบี้ยซึ่งมีอัตราดอกเบี้ย 2 อัตรา คือถ้าเงินต้นน้อยกว่า 1 ล้านบาท จะคิดดอกเบี้ยด้วยอัตราร้อยละ 4 แต่ถ้ามีเงินต้นมากกว่า 1 ล้านบาท จะคิดดอกเบี้ยด้วยอัตราร้อยละ 5

จากผังงานสามารถอธิบายเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

  1. เริ่มต้นการทำงาน
  2. รับค่าเงินต้น
  3. พิจารณาเงินต้นที่รับค่าเข้ามามากกว่า 1 ล้านบาทหรือไม่
    –   ถ้าใช่ ให้คำนวณดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ดังนั้น ดอกเบี้ย = เงินต้น * 0.05
    –  ถ้าไม่ใช่ ให้คำนวณดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4 ดังนั้น ดอกเบี้ย = เงินต้น * 0.04

4. แสดงค่าดอกเบี้ยที่คำนวณได้
5. จบการทำงาน

โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Iteration Structure)

interation_flow

โครงสร้างการทำงานแบบทำซ้ำ จะทำงานแบบเดียวกันซ้ำไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ยังเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนไขเป็นจริง จนกระทั้งเงื่อนไขเป็นเท็จจึงทำงานอื่นต่อไป

selection_flow_example

จากตัวอย่างผังงานสามารถอธิบายเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

  1. เริ่มต้นการทำงาน
  2. รับค่าเงินต้น อัตราดอกเบี้ย และจำนวนปีที่ฝากเงิน ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นในการคำนวณยอดบัญชี(เงินต้นทบดอกเบี้ยตามจำนวนปี ที่ฝากเงิน)
  3. กำหนดให้ n มีค่าเท่ากับ 0 ในผังงานนี้ n คือจำนวนรอบของการคิดดอกเบี้ย
  4. กำหนดยอดบัญชีเริ่มต้นให้เท่ากับเงินต้นที่รับค่าเข้ามา
  5. เปรียบเทียบว่า n น้อยกว่าจำนวนปีที่ฝากเงินหรือไม่
    5.1      ถ้าใช่ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
    – คำนวณยอดบัญชีใหม่โดยทบดอกเบี้ยเพิ่มเข้าไปจากยอดบัญชีเดิมโดยใช้สมการต่อไปนี้ยอดบัญชี = ยอดบัญชี + (ยอดบัญชี * อัตราดอกเบี้ย)
    – เพิ่มค่า n ไปอีก 1
    – กลับไปเปรียบเทียบเงื่อนไขในข้อ 5
    5.2      ถ้าไม่ใช่ แสดงว่าคิดดอกเบี้ยทบต้นครบตามจำนวนปีที่ฝากเงินซึ่งรับค่าเข้ามาแล้วให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
    –  แสดงค่ายอดบัญชีสุดท้ายที่คำนวณได้
    –  จบการทำงาน

การเขียนโปรแกรม

ผังงานโปรแกรมสามารถนำมาใช้เขียนโปรแกรม โดยในการเขียนโปรแกรมสามารถเลือกใช้ภาษาได้หลายภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาแอสเซมบลี ภาษาเบสิก ภาษาซี ภาษาปาสคาล ภาษาโคบอล ภาษาฟอร์แทรน หรือภาษาอื่น ๆ ซี่งแต่ละภาษาก็มีรูปแบบไวยากรณ์ของภาษาที่ใช้แตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีรูปแบบหรือโครงสร้างของคำสั่งที่คล้ายกัน โดยทั่วไปทุกคำสั่งจะมีคำสั่งพื้นฐานต่อไปนี้

  1. คำสั่งการรับข้อมูลเข้า และการแสดงผล
  2. คำสั่งการกำหนดค่า
  3. คำสั่งการเปรียบเทียบเงื่อนไข
  4. คำสั่งการทำซ้ำหรือการวนลูป

ซึ่งค่าสั่งพื้นฐานเหล่านี้ก็สามารถรองรับขั้นตอนการทำงานแต่ละขั้นตอนในผังงานโปรแกรมได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหลังการออกแบบขั้นตอนการทำงานในโปรแกรมโดยใช้ผังานแล้วสามารถนำผังงานนั้นมาใช้ในการเขียนโปรแกรมได โดยเขียนโปรแกรมเป็นลำดับตามขั้นตอนต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในผังงาน

หลังจากเขียนโปรแกรมที่ต้องการเสร็จแล้ว ยังต้องมีการทดสอบความผิดพลาดในโปรแกรม และแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ ก่อน จึงจะสามารถนะโปรแกรมเหล่านั้นไปใช้งานได้จริง

กิจกรรม  ทดสอบความรู้เกี่ยวกับผังงาน < CLICK>


ใส่ความเห็น